มูลนิธิเพื่อนช้าง ประกาศยุติการทำงาน

มูลนิธิเพื่อนช้าง แบกหนี้ไม่ไหว ประกาศยุติการทำงาน หลังต่อสู้มายาวนาน
เป็นเรื่องน่าสะเทือนใจ

มูลนิธิเพื่อนช้างก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2536 ที่ผ่านมา มีปัญหาในการดำเนินงานเกิดขึ้นมากมาย บางสิ่งก็แก้ได้ บางสิ่งก็แก้ไม่ได้ ซึ่งยากต่อการทำงานอย่างยิ่ง สำหรับในปี 2560 นี้ เป็นปีที่ทางมูลนิธิเพื่อนช้างจะครบรอบปีที่ 25 ของการก่อตั้ง

ที่ผ่านมาทางคณะสัตว์แพทย์ของโรงพยาบาลช้างมูลนิธิเพื่อนช้าง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก ได้รักษาช้างเจ็บป่วย และดูแลแม่ช้างที่รอตกลูก มาจำนวน 794 เชือก และยังมีโครงการสัตว์แพทย์สัญจรออกดูแล และรักษาช้าง จำนวน 2,799 เชือก และดูแลช้างป่วยนอกที่ขอรับยา และให้คำแนะนำในการดูแลรักษาช้างอีก 1,055 เชือก ซึ่งเป็นการรักษาช้างมาอย่างยาวนาน”

นอกจากนี้ ตนเอง ยังต่อสู้เรียกร้องให้มีการออกพรบ.ช้าง จนขณะนี้มีร่างกฏหมายช้างเกิดขึ้นแล้ว รวมถึงการดำเนินงานที่ผ่านมามากมาย ทั้งการต้านการค้าช้างไทย และอวัยวะสำคัญของช้าง รวมถึงปัญหาช้างเร่ร่อนที่เห็นผลเป็นรูปธรรมในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2553 เป็นต้นมา ซึ่งในเรื่องปัญหาช้างเร่ร่อน ตนเองได้ต่อสู้ผลักดันมานานถึง 17 ปี และทุกวันนี้ ก็ยังตงต่อสู้ให้หยุดยั่งช้างเร่ร่อนในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ

กระทั่งขณะนี้ตนเองประสบปัญหาทั้งสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง และในเรื่องการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อนช้าง ที่เจอทั้งเรื่องบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน และไม่สามารถที่จะจัดหาบุคลากรที่จะทำงานต่อไปได้ และอุปสรรคสำคัญ คือ ทุนทรัพย์ในการดำเนินงาน ทำให้การทำงานต้องสะดุดลงจากงบดุลที่ติดลบมาถึง 11 ปี และมีหนี้สะสมสูงกว่า 20 ล้านบาท ทำให้ตนเองจึงพิจารณาขอยุติมูลนิธิเพื่อนช้างลง โดยที่ไม่สามารถจะก้าวต่อไปได้

นางสาวโซไรดา ยังย้ำว่า แม้จะเสียใจที่ไม่สามารถผลักดันให้องค์กรนี้อยู่ได้อย่างยั่งยืน เพื่อการทำงานแก่ช้างไทยที่เจ็บป่วย แต่ก็ภูมิใจเป็นที่สุดที่มูลนิธิเพื่อนช้างแห่งนี้ได้ทำงานช่วยช้างไทยมาอย่างเต็มที่ และผลักดัน ต่อสู้ให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง

และบอกว่ามูลนิธิเพื่อนช้างแห่งนี้ไม่มีเอกชน หรือองค์กรต่างชาติใดให้การสนับสนุนงบประมาณเป็นหลัก อย่างที่หลายคนเข้าใจ เงินทุกบาทที่ใช้เป็นเงินที่มาจากการบริจาคของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมาจากประชาชนชาวไทยที่บริจาคเข้ามา และมีชาวต่างชาติที่ร่วมบริจาคสมทบด้วย

แต่ค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างมีมาก ทั้งค่าอาหาร ค่าเวชภัณฑ์ในการรักษาช้าง และค่าดำเนินงานต่างๆ รวมถึงการดูแลช้างของประชาชนที่นำมารักษา ทางมูลนิธิเพื่อนช้างก็ไม่เก็บค่ารักษา หรือค่าดูแล ทำให้ในแต่ละเดือนมูลนิธิเพื่อนช้างมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1 ล้านบาทต่อเดือน หรือปีละ 12 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายสวนทางกับรายรับยอดเงินบริจาคของประชาชนที่เข้ามา ซึ่งแตกต่างจากองค์กรรัฐในการดูแลช้างในปัจจุบันที่มีเงินสนับสนุนก้อนใหญ่จากภาครัฐสนับสนุนปีละหลายสิบล้านไปจนถึงหลักร้อยล้าน

หลังจากที่ออกหนังสือขอยุติไปยังประธานคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อนช้าง ก็คงจะต้องมีการหารือกันต่อไป ซึ่งขณะนี้เป็นเพียงการออกหนังสือเพื่อแจ้งเท่านั้น ยังไม่ได้ยุติบทบาทการทำงานลง เรายังทำงานรักษาช้างอยู่ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันนี้มีช้างประจำที่อยู่ในความดูแล 13 เชือก โดยช้างที่เป็นที่รู้จักอย่างช้างพังโม่ตาลา และช้างพังโม่ชะ ที่ขาขาดจากการเหยียบกับระเบิด ก็ยังมีชีวิตอยู่ และทางเราดูแลช้างเป็นอย่างดีเหมือนกับทุกเชือกที่เดินทางมารักษา

ทั้งนี้ เมื่อปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องทุนทรัพย์ในการสนับสนุนการดำเนินงานมาถึงทางตัน และไม่มีทางออกของปัญหา ตนเองจึงเห็นควรที่จะเสนอให้ยุติการทำงานของมูลนิธิเพื่อนช้างลง ซึ่งหากทางประธาน และคณะกรรมการเห็นพ้องว่าควรยุติลง ก็จะมีการหารือกันอีกว่า ช้างที่มีอยู่นั้นเราจะต้องทำยังไงต่อไป

แม้นจะเสียใจที่ไม่สามารถผลักดันให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่ดิฉันก็ภูมิใจเป็นที่สุด ที่ “มูลนิธิเพื่อนช้าง” ได้ทำงานช่วย “ช้าง” อย่างเต็มที่ ได้ผลักดันให้ปัญหา “ช้าง” เป็นที่รับรู้ของภาครัฐและสังคมโดยทั่วไปและยังมีองค์กรเกี่ยวกับ “ช้าง” เกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย ​หากมีหนทางอื่นที่จะทำให้ “มูลนิธิเพื่อนช้าง” ดำเนินการต่อไปได้ ได้โปรดพิจารณาแจ้งให้ดิฉันทราบด้วย หากไม่มีแล้ว ดิฉันขอท่านประธานเชิญประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินการตามกฎระเบียบต่อไป
​ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ด้วยความเคารพ (นางสาวโซไรดา ซาลวาลา) ผู้ก่อตั้ง / กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิเพื่อนช้าง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่โรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง ยังคงมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดินทางมาเยี่ยมชมโรงพยาบาลช้าง และช้างป่วย ตลอดจนก็ยังมีช้างในภาคเหนือที่เจ็บป่วยทยอยเดินทางมารักษาอาการบาดเจ็บเช่นกัน ซึ่งคณะสัตว์แพทย์และเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อนช้างก็ยังคงทำงานปกติในการดูแลรักษาช้างไทยที่เจ็บป่วย

สำหรับประชาชนที่ต้องการจะบริจาคเงิน เพื่อช่วยในการดำเนินงานรักษาช้างไทยร่วมกับทางมูลนิธิเพื่อนช้างสามารถบริจาคเงินผ่านทางบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขารามอินทรา ชื่อบัญชี มูลนิธิเพื่อนช้าง เลขที่บัญชี 088-2-20983-0 หรือธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารัชโยธิน ชื่อบัญชี กองทุนชื่อ และสกุลช้างมูลนิธิเพื่อนช้างมูลนิธิเพื่อช้าง เลขที่บัญชี 111-227207-8 ตลอดจนทางธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินสั่งจ่าย มูลนิธิเพื่อนช้าง (ปณ.ห้างฉัตร) ติดต่อสอบถามได้ที่มูลนิธิเพื่อนช้าง 054 – 829308

แสดงความคิดเห็น ▼

ความคิดเห็น

สร้าง APP กาดกองต้า ในมือถือ


คลิก! ดูวิธีการ

คนเหนือ

คนลำปางหนา